This หน้าแรก » Literary Chronicles » Judge Dredd – I am the Law

Judge Dredd – I am the Law

Judge Dredd – จัดส์ เดรดด์ หรือ จัดส์ โจเซฟ เดรดด์ เป็นหนึ่งในตุลาการเบ็ดเสร็จ ทำหน้าที่ตำรวจ อัยการ ทุกสิ่งอย่างไปจนถึงเพชรฆาต

I am the Law – ข้าฯ คือกฎหมาย

Respect the badge - he earned it with his blood
Fear the gun - your sentence may be death because...
I Am The Law!
And you won't fuck around no more - I Am The Law
I judge the rich, I judge the poor - I Am The Law
Commit a crime I'll lock the door - I Am The Law
Because in Mega-City... I Am The Law

เพลง ฉันคือกฎหมาย –  “I am the Law” ของแอนแทร็กซ์ (Anthrax) อยู่ในอัลบั้ม อะมองก์เดอะลิพวิง (Among the Living) ออกจำหน่ายเมื่อ ค.ศ. 1987 กล่าวถึงตัวละครที่ชื่อ จัดจ์ เดรดด์ (Judge Dredd – ตุลาการ เดรดด์) จากการ์ตูนแอ็กชั่นแฟนตาซีว่าด้วยเหตุการณ์ในอนาคตใช้ระบบผู้พิพากษาทำหน้าที่ควบทั้งตำรวจ อัยการ ลูกขุน และเพชฌฆาต ในบุคคลเดียว

Fifteen years in the academy
He was like no cadet they'd ever seen

ชีวิตของ จัดส์ โจเซฟ เดรดด์ เกิดกรรมวิธีโคลนนิง หลังถือกำเนิดก็ต้องผ่านหลักสูตรจากสถาบันกฎหมายเป็นเวลา 15 ปี แต่ โจเซฟ และริโก เดรดต์ ฝาแฝด ใช้เวลาเพียง 13 ปีเท่านั้น

A man so hard, his veins bleed ice
And when he speaks he never says it twice
They call him Judge, his last name is Dredd
So break the law, and you may wind up dead
Truth and justice are what he's fighting for
Judge Dredd the man, he is the law
Drokk it

ความเคร่งครัดและดำรงตน “ยุติธรรม” เป็นบุคลิกโดดเด่นของ จัดจ์ เดรดด์ หากคุณทำผิดกฎหมายแล้วโดน จัสจ์ เดรดด์ จับได้ อาจหมายถึงความตาย และไม่มีสิทธิอุทธรณ์แก้ต่างอะไรทั้งสิ้น เพราะ เขาคือกฎหมาย

Dictatorship ใน Judge Dredd

Judge Dredd

จะว่าไประบบนี้คือเผด็จการนี่เอง ผู้คนในเมกาซิตี้ (ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ พวกเขายินยอมลิดรอนสิทธิขึ้นพื้นฐานที่พึงมีของตัวเองเช่นการหาทนายมาแก้ต่าง สิทธิการอุทธรณ์ ยอมให้จัดจ์ เดรดด์ (และตุลาการอื่น) ตัดสินคดีแบบเบ็ดเสร็จ

เนื่องจากมันเป็นการ์ตูนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าจัดจ์ เดรดด์และกลุ่มตุลาการคือผู้มีความยุติธรรม ภาพของเมืองภายใต้การปกครองของฟาสซิสต์/นาซีจึงดูอ่อนโยนและไม่เลวร้าย

แต่การมอบอำนาจให้ใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเด็ดขาดเป็นเรื่องเลวร้ายมาก ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นด้วยความคิดที่ดี อย่างปรัชญาสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ์หากพิจารณาแนวคิดเชิงปรัชญาเพียงอย่างเดียว สังคมจะอยู่อย่างสงบมีสันติสุขไม่มีการครอบครอง เพียงแต่ขัดกับสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน นี่ยังไม่รวมแนวคิดที่ว่าการสร้างรัฐสังคมนิยมจะต้องกระทำผ่านทางการปะทะระหว่างชนชั้น และการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้นซึ่งนำมาสู่ลัทธิมาร์กซิส ลัทธิเลนินที่เหล่านักปฎิวัติหัวรุนแรงหยิบมาใช้ในหลายประเทศ

กำเนิด Judge Dredd

คาร์ลอส เอสเคียร์รา และจอห์น วากเนอร์ เป็นผู้ร่วมให้กำเนิด จัดจ์ เดรดด์ โดยคาร์ลอสเป็นคนออกแบบคอนเซ็ปต์ของจัดจ์ โจเซฟ เดรดด์ ส่วนจอห์น เป็นคนคิดเนื้อเรื่อง

คาลอสเริ่มต้นอาชีพด้วยการเขียนการ์ตูนในปาร์เซโลนา ประเทศสเปน บ้านเกิด ก่อนที่จะย้ายมาอยู่สหราชอาณาจักรและทำงานกับ ทูเทาซันเอดี เขาสร้างจัดจ์ เดรดด์จากต้นแบบของนายพลฟรันซิสโก ฟรังโกผู้นำเผด็จการของประเทศสเปน บวกกับสภาพสังคมที่เขาพบเจอขณะพักอาศัยที่เมืองครอยดอน ประเทศอังกฤษ ช่วงทศวรรษ ๗๐ – ๘๐ ซึ่งมีปรากฎการณ์พังก์เกิดขึ้นในอังกฤษพอดี และรวมทั้งภาพลักษณ์ของตำรวจที่ใช้กำลังปราบปรามกลุ่มแรงงานมีการนัดหยุดงานประท้วงบ่อยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

With his gun and bike he rules the streets
And every perp he meets will taste defeat
Not even Death can overcome his might
Cause Dredd and Anderson, they won the fight

จัดจ์ เดรดด์พร้อมปืนจะขับจักรยานยนต์คันโตตระเวนไปทั่ว ใครทำผิดกฎหมายก็จะโดนตัดสินทันที แม้แต่จัดจ์ เดธ ตัวร้าย (เป็นวิญญาญที่สิงร่างศพหรือคนทั่วไปได้) ยังพ่ายแพ้ ด้วยความช่วยเหลือของจัดจ์ แคสแซนดรา แอนเดอร์สัน

When the Sov's started the Apocalypse war
And Mega-city was bombed to the floor
Dredd resisted, and the judges fought back
And crushed the Sov's with their counter-attack

Judge Dredd – The Anti-Hero

จอห์น วากเนอร์ ผู้ร่วมสร้างจัดส์ เดรดด์เคยออกปากว่าเมื่อเห็นร่างต้นแบบจัดส์ เดรดด์ครั้งแรกนั้นเขาคิดว่า “เหมือนโจรสลัดสเปน” ดังนั้นเนื้อเรื่องไม่เหมือนกับบรรดาวีรบุรุษในโลกการ์ตูนก่อนหน้านั้น บางครั้งเขาเป็นวีรบุรุษ บางครั้งเป็นทรราชย์

อย่างเช่นตอน สงครามโลกาวินาศ (The Apocalypse War) เมื่อปีค.ศ. 1982 สหภาพโซเวียตปล่อยระเบิดปรมาณูถล่มเมกาซีตี จัดจ์ เดรดด์ แก้แค้นโดยนำเหล่าผู้พิพากษาที่เหลือบุกฝ่าเข้าไปถึงใจกลางกองบัญชาการทหารของสหภาพโซเวียต และมีโอกาสปล่อยหัวรบปรมาณู นายทหารของสหภาพโซเวียตพยายามวิงวอนไม่ให้ จัดจ์ เดรดด์ ปล่อยระเบิดปรมาณู แต่คำตอบคือ “คนครึ่งเมืองข้าพเจ้าสลายกลายเป็นเถ้าถ่าน…แล้วท่านยังจะขอความเมตตา?” จัดส์ เดร็ด ถามกลับ “เพิกถอนคำขอ!” แล้วจัดส์ เดรดด์ก็กดปุ่มปล่อยระเบิดปรมาณูทำลายคนครึ่งพันล้าน…

ถ้าเป็นวีรบุรุษคนอื่นเช่นมนุษย์ค้างคาว ซูเปอร์แมน คงเลือกรักษาชีวิตคนบริสุทธิ์ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ แต่นี่คือจัดส์ เดร็ด

In the cursed earth where mutants dwell
There is no law, it's just a living hell
Anarchy and chaos as the blood runs red
But this would change if it was up to Dredd
The book of law is the bible to him
And any crime committed is a sin
He keeps the peace whith his law-giver
Judge, jury, and executioner
Drokk it

Totalitarianism

โลกในสมัย จัดจ์ เดรดด์ คือสหรัฐฯในโลกหลังสงครามปรมาณู ที่เหลือรอดเพียงเมกาซิตีเพียงสามแห่ง ที่เหลือกลายเป็น “โลกต้องสาป” หรือ Cursed Earth ซึ่งเต็มไปด้วยเหล่ามนุษย์กลายพันธุ์และไม่มีกฎหมาย ซึ่งจัดจ์ เดรดด์ก็มีเหตุให้ออกนอกเมกาซีตี-วัน ผ่านดินแดนโลกต้องสาปเหล่านี้เพื่อปฏิบัติภารกิจบางอย่าง แต่เขาก็เอาตัวรอดมากได้

ลองอ่านหนังสือ ฟาร์มสัตว์ – Animal Farm ของ จอร์จ ออร์เวลล์ เป็นตัวอย่างก็ได้ที่กลายเป็นว่าการปฎิวัติเพื่อความเสมอภาคในตอนแรกกลับกลายเป็น “สัตว์ทุกตัวล้วนเสมอภาค แต่สัตว์บางตัวเสมอภาคกว่าตัวอื่น”

การได้ครองอำนาจในมือ อาจจะทำให้คนที่ไม่เคยมีอำนาจมาก่อนเกิดภาวะเหลิงอำนาจ และโดนชักจูงไปสู่ความคิดด้านลบได้โดยง่าย บุคคลเช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ คือผู้รักชาติเยอรมันแบบหมดใจ เขาเชื่อว่าการที่เยอรมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากโดนหักหลัง และสนธิสัญญาแวร์ซายคือความอัปยศของชาติ ในเมื่อความรักชาติของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เพิ่มมากขึ้น (ซึ่งควรจัดเป็นความดีงามแบบหนึ่งใช่หรือไม่?) และได้รับการสนับสนุนจากประชาชน จนทำให้เขาก้าวสู่อำนาจ และหลงคิดไปว่าการทำอะไรก็ตามเพื่อชาติคือสิ่งถูกต้อง นั่นคือหายนะที่ตามมา

มองดูสังคมรอบข้าง เห็นวุ่นวายกันก็ด้วยต่างฝ่ายคิดว่าตัวเป็นคือตัวแทนความดีงาม เอาแค่เรื่องเล็กน้อยอย่างรสนิยมทางดนตรี คิดว่าฟังเพลงสไตล์นี้แล้วดีที่สุด ดนตรีรูปแบบอื่นไม่ดีเท่า คิดว่าการใช้ชีวิตแบบนี้แล้วดีที่สุด การใช้ชีวิตต่างออกไปล้วนเป็นเรื่องน่ารังเกียจ

การเป็นคนดีเป็นสิ่งดี แต่ถ้าคิดว่าตนเองเป็นคนดีเมื่อใดก็เสื่อมเมื่อนั้น  เพราะเมื่อคิดว่าตนเองดี สิ่งที่ตัวเองคิดเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ตัวเองทำเป็นสิ่งที่ดี คนอื่นทำผิดไปจากตนเองล้วนแต่ไม่ดีทั้งสิ้น ใครหลงผิดยึดติดว่าตัวเองดีแล้ว มักจะดูถูกคนอื่นที่คิดไม่เหมือนตัวเอง ต้องสั่งสอน เย้ยหยัน ถากถาง หรือกำจัดทิ้ง ตามแต่โอกาส หากมีอำนาจหรือมีชื่อเสียงเพียงพอจะทำให้คนคล้อยตามได้ก็อาจจะทำให้เกิดเรื่องราวน่าเศร้าใจ

Wirathu

อย่างพระภิกษุพม่าผู้ขึ้นหน้าปกนิตยสารไทม์ พร้อมคำว่า The Face of Buddhist Terror เพราะท่านผู้นี้เป็นผู้นำการต่อต้านผู้นับถือศาสนาอิสลาม ถึงขั้นยุยงให้ใช้ความรุนแรง ก่อเกิดเป็นจลาจลที่น่าเศร้าใจ หรือประเทศไทยในอดีต หรือกระทั่งทุกวันนี้ก็มีพระสงฆ์หลายรูปที่นำเสนอแนวคิดที่น่าตกใจไม่ตรงกับหลักพุทธศาสนาออกมาเป็นระยะ

กลับมาที่ จัดจ์ เดรดด์ ถ้าหากเขาเป็นเพียงปุถุชนทั่วไปคนหนึ่งแล้วมีอำนาจอยู่ในมือเช่นนั้น เขาจะยังคงรักษาความยุติธรรมได้อยู่หรือไม่?

I Am The Law! ข้าพเจ้าคือกฎหมาย เป็นบรรทัดฐานว่าผู้ใดปฏิบัติไม่เหมือนล้วนผิดทั้งสิ้น เป็นประโยคที่ใช้ได้กับ จัดจ์ เดรดด์ ผู้ไม่มีชีวิตอยู่ในโลกความจริงเท่านั้น

ในชีวิตจริง คงไม่มีใครสมบูรณ์แบบจนถึงขั้นตัดสินชีวิตคนอื่นอย่าง จัดจ์ เดรดด์ ลองเปิดใจรับรู้ความคิดเห็นและความเชื่อที่แตกต่างกัน อาจจะทำให้ชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขขึ้น

แทนที่จะคิดว่า I am the Law ลองคิดว่า I am the eggman, I am the walrus หรือ I am a Table ดูบ้างก็ไม่เสียหาย

แสดงความคิดเห็น