คดีลิขสิทธิ์ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว 

คดีลิขสิทธิ์ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว มีความน่าสนใจในตัวเองหลายประการ ทั้งในเรื่องกฎหมาย และเรื่องความเหมาะสม และบรรทัดฐานที่พึงมีในธุรกิจการพิมพ์

Continue reading คดีลิขสิทธิ์ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว 

Ramona Quimby

รู้จัก ราโมนา ควิมบี มั้ย? Ramona Quimby หรือจะเรียกให้เต็มยศว่า Ramona Geraldine Quimby หรือที่เจ้าตัวแนะนำตัวเองว่า Ramona Q น่ะ

ราโมนา คิว ของแท้ ตัวคิว ต้องมีหางสวยงาม มีหูแมว มีหนวดแมว เพราะตัวคิวเหมือนกับแมวหันหลัง!

ราโมนาคนนี้แหละ

Continue reading Ramona Quimby

ก็องดิด – Candide

ก็องดิด หรือ Candide เป็นหนังสือนวนิยายแนวปรัชญาของ วอลแตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. ๑๗๕๙ โดยเนื้อหาของเรื่องนี้แสดงความคิดไม่เห็นด้วยกับหลักปรัชญาสุทรรศนิยม (optimism) ของ ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบนิทซ์ (Gottfried Wilhelm von Leibniz) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนความคิดใหม่ หรือ นวยุค (Modern paradigm) หรือยุคที่เริ่มเกิดความเชื่ออย่างใหม่ที่ไม่ยึดติดกับศาสนามากนัก โดยมุมมองของสุทรรศนิยม คือมองว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสิ่งดี

Continue reading ก็องดิด – Candide

Southern Mail – ไปรษณีย์ใต้

Southern Mail หรือ ไปรษณีย์ใต้ (หรือ Courrier sud ตามต้นฉบับเดิม) เป็นนิยายของ อ็องตวน เดอ แซ็งแตกซูว์เปรี (Antoine de Saint-Exupéry) พิมพ์ครั้งแรกปีค.ศ. ๑๙๒๙

Continue reading Southern Mail – ไปรษณีย์ใต้

Geoffrey Fisher

Geoffrey Fisher หรือ บารอน ฟิชเชอร์แห่งแลมเบ็ธ หรืออาร์คบิช็อปแห่งแคนเทอร์เบอร์รี (ระหว่างปี ๑๙๔๕–๑๙๖๑) มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์โลกคือท่านเป็นผู้สวมมงกุฎในวันราชาภิเษกของสมเด็จราชินีนาถอิลิซาเบ็ธที่สองแห่งอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๑๙๕๓

Continue reading Geoffrey Fisher

The Incredible Adventures of Professor Branestawm

The Incredible Adventures of Professor Branestawm ของ นอร์แมน ฮันเตอร์ (Norman Hunter) หรือ ศาสตราจารย์สมองใส ฉบับแปลโดย ครรชิต มาลัยวงศ์ นี้เป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อชีวิตข้าพเจ้าตามสมควร เพราะเล่มนี้เป็นหนังสือ (ที่ไม่ใช่หนังสือการ์ตูน) เล่มแรกในชีวิตที่ซื้อเอง

ดีใจที่ซื้อเล่มนี้ เพราะถ้าหากว่าอ่านไม่สนุกก็คงไม่อยากซื้อหนังสืออื่นมาอ่านต่อ ตอนที่ซื้อเล่มนี้ ยังเด็กอยู่เลย และเป็นหนังสือที่ปัจจุบัน นาน ๆ ทีก็ยังหยิบขึ้นมาอ่าน

Continue reading The Incredible Adventures of Professor Branestawm

The Diaries of Adam and Eve

The Diaries of Adam and Eve หรือภาษาไทยใช้ชื่อว่า อนุทินของอดัมกับอีฟ เป็นผลงานของนักเขียนชื่อก้อง มาร์ก ทเวน (Mark Twain) ชายผู้สร้าง ทอม ซอเยอร์ และ ฮักเกิลเบอร์รี ฟินน์ ให้กลายเป็นอมตะ

Continue reading The Diaries of Adam and Eve

Book of Sith

Book of Sith: Secrets from the Dark Side เป็นหนังสือของ แดเนียล วอลเลซ (Daniel Wallace) ประเภท -อ้างอิง- ซึ่งจะเป็นเกร็ด หรือ อธิบายเรื่องราวที่ไม่ปรากฎในภาพยนตร์ (แต่อาจจะมีการอ้างอิงถึงบ้าง) ซึ่ง ถ้าใครไม่รู้จัก สตาร์วอร์ส (Star Wars) มาก่อน คงอ่านไม่ค่อยเข้าใจ การอ้างอิงชื่อบุคคลทั้งเหล่าเจไดและซิธ รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สตาร์วอร์สเป็นพื้นฐานสำคัญ

Continue reading Book of Sith

กลิ่นใคร่ในไอรัก: มายาและมารยา

กลิ่นใคร่ในไอรัก ผลงานของ ไพลิน เจนเกียรติ’ ถือเป็นงานในช่วงหลังน่าจะเกือบหลังสุด เพราะปัจจุบันหายไป ไม่เห็นผลงานอื่นหลังจากนี้ (เหมือนจะมีตามมาอีกเล่มหรือสองเล่ม)

หนังสือของเธอมีเนื้อหาเชิงสังวาสแทรกเข้ามาเป็นระยะ ทำให้ผู้เบื่อหน่ายเรื่องราวความรักบริสุทธิ์อุตมบรรเจิดได้มีที่พักทางสายตา

Continue reading กลิ่นใคร่ในไอรัก: มายาและมารยา

2+2=5: The Significance of a Mathematical Error

2 + 2 = 5, Why does two plus two equal five? There is no mathematical or logical basis to support the claim that 2+2=5. It may seem like a simple mathematical error, but it has a complex and intriguing history that spans centuries. often used as an example of propaganda, which is a form of communication that aims to influence people’s beliefs or actions in a particular direction. 

Continue reading 2+2=5: The Significance of a Mathematical Error

เงาของเวลา โครงกระดูกในตู้ฉบับสามัญชนของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์

หยิบหนังสือ เงาของเวลา มาอ่านในช่วงหยุดยาว เล่มนี้บอกไว้ในหนังสือว่า เป็นขบวนเดียวกับ เมนูบ้านท้ายวัง ซึ่งนำมาจากเรื่องที่เขาเขียนให้ นิตยสารลลนา ในยุคที่ สุวรรณี สุคนธา เป็นบรรณาธิการ และเขียนยาวนานร่วม ๑๒ ปี โดย ’รงค์ วงษ์สวรรค์ บอกว่านี่คือ “โครงกระดูกในตู้ฉบับสามัญชน”

Continue reading เงาของเวลา โครงกระดูกในตู้ฉบับสามัญชนของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์

เสียงพูดสุดท้าย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์

เสียงพูดสุดท้าย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นบทสัมภาษณ์ช่วงสุดท้ายของชีวิต ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย วรพจน์ พันธุ์พงศ์

Continue reading เสียงพูดสุดท้าย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกสอนวิธีคิด เล่มที่ ๑ “วิชาชีวิตที่ไม่มีในตำรา”

ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกสอนวิธีคิด น่าจะเป็นตัวอย่างของหนังสือที่แย่เล่มหนึ่งเท่าที่เคยอ่านมา พออ่านจบแล้วรู้สึกว่าเป็นหนังสือที่ห่วยที่สุดในรอบปี หรือรอบหลายสิบปีเท่าที่เคยอ่านมา!

Continue reading ฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกสอนวิธีคิด เล่มที่ ๑ “วิชาชีวิตที่ไม่มีในตำรา”

เด็กชายหอยนางรม

เด็กชายหอยนางรม แปลมาจาก The Melancholy Death of Oyster Boy and Other Stories เป็นบทกวีของ ทิม เบอร์ตัน ที่สร้างสรรค์เรื่องตลกร้ายได้อย่างบาดลึก

การแปลเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ยากและละเอียดอ่อนมาก เพราะผู้แปลจะต้องมีความรู้ทั้งภาษาต้นทางและภาษาปลายทางอย่างลึกซึ้ง ใครก็ตามที่หาญกล้ามาแปลหนังสือขายต้องทำใจว่ามีโอกาสโดนตำหนิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม (ฮา…)

Continue reading เด็กชายหอยนางรม

The Castle of Otranto

The Castle of Otranto – ปราสาทแห่งโอทรานโต หรือชื่อเดิมยาวเหยียดว่า The Castle of Otranto, A Story. Translated by William Marshal, Gent. From the Original Italian of Onuphrio Muralto, Canon of the Church of St. Nicholas at Otranto เป็นนิยายเขียนโดย โฮเรช วัลโพล (Horatio Walpole) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. ๑๗๖๔ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิยายกอธิกสมบูรณ์แบบเรื่องแรกของโลก (เท่าที่รู้จัก)

Continue reading The Castle of Otranto
Exit mobile version